Support
ชุงcctvservice
0825449009
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

การต่อสายกราวด์

nobphon | 11-02-2557 | เปิดดู 10716 | ความคิดเห็น 0

สายกราวด์

สายกราวด์หรือสายดินที่เรารู้จักกัน แต่โดยมากแล้วนั้นจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกันมากเท่าไรนักเนื่องจากว่าไม่ค่อยได้เห็นถึงประโยชน์ในการใช้งานที่ชัดเจนนั่นเอง เพราะว่าสายประเภทนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อมีกระแสไฟฟ้าที่เกินจากการใช้งานจริง ก็จะทำหน้าที่เป็นเสมือนท่อน้ำทิ้ง คือจะเอากระแสไฟฟ้าที่เกินออกมานั้นไปถ่ายเทลงสู่พื้นดินและก็จะสลายไป ดังนั้นจึงไม่ค่อยได้เห็นเวลาที่ทำงาน ซึ่งโดยปกติแล้วนั้น ในการต่อสายดินควรอย่างยิ่งที่จะต่อจากอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็นที่ทุกบ้านล้วนแล้วแต่จะต้องมี โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า ไมโครเวฟ เครื่องทำน้ำอุ่น ฯลฯ ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายทั้งสิ้นถ้ามีกระแสไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้น  ซึ่งสายกราวด์นี่เองที่จะทำหน้าที่ในการรักษาชีวิตคุณไว้จากอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้

 

ลักษณะของสายกราวด์

โดยปกติแล้วตามมาตรฐานสากลที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกนั่นจะกำหนดให้สายดินนั้น เป็นสีเขียว หรือไม่ก็เป็นสีเขียวคาดเหลือง เพื่อที่จะได้เข้าใจได้ตรงกันว่าเป็นสายดิน ซึ่งโดยปกติแล้วเราก็จะเห็นว่าไฟฟ้าที่มาจากเมนหลักเข้าสู่บ้านเรานั้น (กรณีที่เป็นไฟฟ้าแรงดัน 220 โวลท์) จะมีสายเข้ามาอยู่ด้วยกัน 3 เส้น เส้นแรกจะเป็น Line ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าเข้ามา เส้นที่ 2 เป็นสายนิวตรอน ไม่มีไฟฟ้า และเส้นที่ 3 นี่เองที่เป็นสายกราวด์ โดยจะถูกต่อลงดินเอาไว้ด้วยเหตุผลตามที่ได้กล่าวมา

 

 

 

สายกราวด์นั้นจะมีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานได้รับอันตรายอันเนื่องมาจาก ไฟฟ้าช็อตหรือไฟฟ้ารั่ว ซึ่งถ้ามีการช็อตหรือรั่วของกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นในขณะที่เรากำลังปฏิบัติงานหรือกำลังใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ อยู่ กระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านไปยังส่วนที่เป็นโลหะ และถ้าเราได้สัมผัสชิ้นส่วนโลหะในบริเวณนั้นอยู่ และก็ไม่ได้มีการติดตั้งสายกราวด์ไว้ภายในบ้านด้วย จะทำให้กระแสไฟฟ้าทั้งหมดนั้นไหลเข้ามาสู่ตัวเรา ซึ่งก็จะเป็นผลให้มีกาสูญเสียอวัยวะหรือถึงขั้นเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีผลกระทบที่ร้ายแรงมาก เพียงแค่การมองข้ามการติดตั้งสายดินเท่านั้น

การดำเนินการติดตั้งสายกราวด์

สายกราวด์นั้นจะเรียกกันโดยทั่วไปว่าสายดิน ซึ่งในการติดตั้งนั้นก็จะฝังอยู่ใต้ดิน ซึ่งก็จะรวมเอาแต่ละสายที่มาจากตำแหน่งต่างๆ ทั่วบ้าน นำเอามารวมกันอยู่ที่แผงควบคุมไฟฟ้าหรือที่เรียกกันว่าเซอร์กิตเบรคเกอร์หรือตู้ไฟนั่นเอง และก็จะต่อสายเส้นหนึ่งจกตู้นี้แล้วลากสายไปยังบริเวณที่เป็นพื้นดิน และที่ปลายสายก็จะเชื่อมต่อเข้ากับแท่งทองแดงชนิดเปลือย ซึ่งก็จะไม่มีการหุ้มฉนวน เพื่อเป็นการล่อกระแสไฟฟ้าให้เข้ามาสู่แท่งทองแดงนั้นเอง โดยจะมีความยาวประมาณ 6 ฟุต และภายในดินก็จะมีการสะสมความชื้นอยู่เสมอ จึงทำให้มีคุณสมบัติในการต้านกระแสไฟฟ้าได้ต่ำ และมีการนำกระแสไฟฟ้าได้สูง กระแสไฟฟ้าที่รั่วไหลต่างๆ นั้นก็จะไหลไปยังบริเวณดังกล่าว ไม่เข้ามาสู่ตัวเราที่มีความต้านทานไฟฟ้าที่สูงกว่านั่นเอง

 

ความคิดเห็น

วันที่: Sun Apr 28 21:12:56 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 

 

 โทร(ช่างชุง) : 082-544-9009 

 

กล้องวงจรปิด กล้องวงจรปิดยานนาวา สัมพันธวงศ์ พญาไท ธนบุรี บางกอกใหญ่ ห้วยขวาง คลองสาน ตลิ่งชัน บางกอกน้อย บางขุนเทียน ภาษีเจริญ หนองแขม ราษฎร์บูรณะ บางพลัด ดินแดง บึงกุ่ม สาทร บางซื่อ จตุจักร ประเวศ คลองเตย คลองเตย สวนหลวง จอมทอง ดอนเมือง ราชเทวี ลาดพร้าว วัฒนา บางแค หลักสี่ สายไหม คันนายาว สะพานสูง วังทองหลาง คลองสามวา บางนา ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางบอน